ยินดีต้อนรับ

"Welcome to My Education Blog
Blog เพื่อการเรียนรู้ของเกษศิรินทร์ ห้วงน้ำ ค่ะ"

Presentation

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

รายงานกลุ่มที่ 2 (2/2)

ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ

กระบวนการทำงาน (Procedure)                                  
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
1.   จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
2.   สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
3.   เลือกรายการ
4.   ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
5.   รับเงิน
6.   รับใบบันทึกรายการ และบัตร
การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น

รายงานกลุ่มที่ 2 (1/2)

คอมพิวเตอร์คืออะไร
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electroinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
1.   ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
2.   แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
3.   เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
แสดงขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

·       สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair Cable)
ข้อดี
·         ราคาถูก
·         มีน้ำหนักเบา
·         ง่ายต่อการใช้งาน
ข้อเสีย
·         มีความเร็วจำกัด
·         ใช้กับระยะทางสั้นๆ

สายโคแอกเชียล (Coaxial)
ข้อดี
·         เชื่อมต่อได้ในระยะไกล
·         ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย
·         มีราคาแพง
·         สายมีขนาดใหญ่
·         ติดตั้งยาก

สายใยแก้วนำแสง(Optic Fiber)
ข้อดี
·         มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา
·         มีความปลอดภัยในการส่งข้อมูล
·         มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย
·         เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
·         มีราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป
·         การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ 3 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์


ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกี่ส่วน คืออะไรบ้าง
ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลักๆดังนี้
1.   ข้อมูล คือ ทรัพยากรสำคัญซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น ข้อมูลทั่วไป, ข้อความ, ภาพ, เสียง, Tactile data และข้อมูลจากเครื่องรับรู้
2.   การจัดเก็บ คือ ขั้นตอน หรือ วิธีการรักษาไว้ซึ่งข้อมูล
3.   เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและประมวลผล คืออุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูล เช่น computer
4.   การประมวลผล
5.   สารสนเทศ คือ ผลผลิตของระบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยความถูกต้อง ตรงประเด็น ทันสมัย สมบูรณ์ กะทัดรัด
ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยอะไรบ้าง นศ.คิดว่าเพราะอะไร จงให้เหตุผล
ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยแรงงานคน และเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ เนื่องจากปัจจุบันลักษณะการทำงานและชีวิตประจำวันได้ถูกพัฒนาให้มีการใช้หรือบริโภคข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้การประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ มีความสำคัญมากขึ้น เพื่อความรวดเร็วและแม่นยำในการประมวลผล  แต่เนื่องจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันไม่สามารถใช้เครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์ได้ตลอดเวลา ดังนั้นหากเป็นการประมวลผลด้วยข้อมูลจำนวนน้อยๆ ง่ายๆจึงยังคงนิยมใช้การประมวลผลด้วยแรงงานคน หรือด้วยมืออยู่ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าการประมวลผลนั้น นิยมใช้การประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์ และแรงงานคน โดยขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลและสถาณการณ์

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า(Input Device) มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

           อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า(Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่

1.   แป้นพิมพ์(Keyboard)  ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์หรือเคาะได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร

2.   เมาส์(Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ




3.   แทร็กบอล(Track Ball) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล เช่นเดียวกับเมาส์ แต่แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน


4.   จอยสติก  (Joy Stick)  ทำหน้าที่รับข้อมูลมีลักษณะเป็นคันโยกขึ้นลง  ซ้ายขวา  เพื่อควบคุมตำแหน่งของตัวชี้ 

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งยกตัวอย่าง


เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ จัดระะเบียบ แล้วประยุกต์ใช้ เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ในองค์กร ทำให้ไม่ต้องใช้พนักงานเดินเอกสาร


สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ เช่น สารสนเทศที่เป็นความรู้ที่เกิดจากข่าวสารรอบตัวซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม  เป็นต้น


เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ เช่น การ Print การ Copy ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้อุปกรณ์ เช่นเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น


ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฎการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจบันทึกเก็บไว้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น คะแนนสอบ ชื่อนักศึกษา เพศ อายุ เป็นต้น


ฐานความรู้ คือ สารสนเทศที่จัดเป็นโครงสร้าง ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้ เช่น ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวสู่ยุค"เศรษฐกิจฐานความรู้" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่า ความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่า การพัฒนาความรู้ใหม่ๆเพื่อการแข่งขันและเสริมสร้างความเข้มแข็งเป็นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการพัฒนาประเทศ


2.โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง


โครงสร้างสารสนเทศ ประกอบด้วย


1.ระดับล่างสุด    เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่า ระบบการประมวลผลรายการ เป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์การ เช่น การทำบัญชี การจองตั๋ว เป็นต้น


2.ระดับที่สอง     เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน เช่น สารสนเทศที่เกี่ยวกับการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมและการควบคุมคุณภาพสินค้า ที่ได้จากกระบวนการผลิต


3.ระดับที่สาม     เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้น ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ เช่น สารสนเทศที่เป็นรายงานสรุปยอดรวมของการขายสินค้าในแต่ละภาค เป็นต้น


4.ระดับที่สี่          เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่า การวางแผนกลยุทธ์ เช่น สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า สภาวะการตลาด ความสามารถของคู่แข่งขัน เป็นต้น